หมวด ๓
ตราเครื่องหมาย เหรียญและเข็ม
ตราเครื่องหมาย เหรียญและเข็ม
มาตรา ๓๑ ตราเครื่องหมายของ อผศ. มีรูปลักษณะดังรูปตราเครื่องหมาย
ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๒ อผศ. อาจจัดทำเหรียญและเข็มองค์การ เพื่อเป็นเครื่องหมาย
ประดับสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีอุปการคุณในกิจการของ อผศ. ชนิด ชั้น ของ
เหรียญและเข็ม และรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิประดับ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภา-
ทหารผ่านศึก
ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๒ อผศ. อาจจัดทำเหรียญและเข็มองค์การ เพื่อเป็นเครื่องหมาย
ประดับสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีอุปการคุณในกิจการของ อผศ. ชนิด ชั้น ของ
เหรียญและเข็ม และรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิประดับ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภา-
ทหารผ่านศึก
ตราเครื่องหมาย อผศ. ตราเครื่องหมาย อผศ. เป็นรูปฉัตรห้าชั้น อยู่เหนือช่อชัยพฤกษ์ไขว้ เหนือฉัตรมีคำว่า "องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" และใต้ช่อชัยพฤกษ์ มีคำว่า "ในพระบรมราชูปถัมภ์" ทั้งหมดนี้อยู่ภายใน วงกลม ตราเครื่องหมาย อผศ. ที่จะใช้ในกรณีติดต่อ กับต่างประเทศ มีพื้นสีธงชาติไทยอยู่ภายในวงกลมด้วย |
ความหมายของตราเครื่องหมาย อผศ.
ฉัตรห้าชั้น หมายถึงนักรบของพระมหากษัตริย์
ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึงเกียรติแห่งความมีชัย
อผศ. ใช้สีเขียว เป็นสัญญลักษณ์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความสดชื่นและ
ความร่มเย็นอันได้แก่การบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ทหารผ่านศึกอันเป็นงานในหน้าที่
ของ อผศ.
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก
ทางราชการทหารมีความประสงค์ ที่จะขยายการสงเคราะห์ให้รวมไปถึงทหารนอก-
ประจำการ ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ป้องกันหรือ
ปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร
กับทั้งสมควรรวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติ
ทำการรรบ ณ ประเทศเกาหลี ให้เข้าอยู่ในองค์การนี้ด้วย จึงสมควรพิจารณาปรับปรุง
แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้เหมาะสมกับกาลสมัยและ
สถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน
(๘๔ ร.จ.๑๐ ตอนที่ ๑๒๖ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๐)
ฉัตรห้าชั้น หมายถึงนักรบของพระมหากษัตริย์
ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึงเกียรติแห่งความมีชัย
อผศ. ใช้สีเขียว เป็นสัญญลักษณ์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความสดชื่นและ
ความร่มเย็นอันได้แก่การบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ทหารผ่านศึกอันเป็นงานในหน้าที่
ของ อผศ.
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก
ทางราชการทหารมีความประสงค์ ที่จะขยายการสงเคราะห์ให้รวมไปถึงทหารนอก-
ประจำการ ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ป้องกันหรือ
ปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร
กับทั้งสมควรรวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติ
ทำการรรบ ณ ประเทศเกาหลี ให้เข้าอยู่ในองค์การนี้ด้วย จึงสมควรพิจารณาปรับปรุง
แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้เหมาะสมกับกาลสมัยและ
สถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน
(๘๔ ร.จ.๑๐ ตอนที่ ๑๒๖ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๐)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น