วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
ประวัติโดยสังเขป                                                                                    
                      ในสมัยสงครามโลกครั้งที่  ๒ ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมทำการรบ                           ในสงครามมหาเอเซียบูรพา  เมื่อสิ้นสุดสงครามทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรบ         ถูกปลดประจำการโดยกระทันหัน ส่งผลให้ตัวทหารและครอบครัวได้รับความเดือดร้อน               ในการครองชีพเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี  พลเรือตรี ถวัลย์  ธำรง นาวาสวัสดิ์       เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ กระทรวงกลาโหมจึงได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาหาทางช่วยเหลือทหารกองหนุนขึ้น เมื่อวัน  ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖โดยมีที่ทำการอยู่ในกรมเสนาธิการทหาร(ปัจจุบันคือกองบัญชาการทหารสูงสุด) และใช้เจ้าหน้าที่ของกรมเสนาธิการเป็นผู้ปฏิบัติงานสำหรับงบประมาณในการสงเคราะห์  ได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมจำนวนหนึ่ง

ต่อมาเมื่อมีการขยายการสงเคราะห์เพิ่มมากขึ้นจึงได้มีการพิจารณาว่าการดำเนินงาน ในรูปของคณะกรรมการจะขาดความรัดกุมและเหมาะสม กระทรวงกลาโหมจึงได้เสนอเป็นพระราชบัญญัติ จัดตั้ง องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  หรือ ที่เรียกโดยย่อว่า  “อผศ.”  ขึ้นเป็นหน่วยงานถาวร  เพื่อทำหน้าที่  ในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกโดยตรง  พระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา           เมื่อวันที่  ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๑ จึงนับเป็นวันแรกที่มีกฎหมายรองรับการจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และการเป็นทหารผ่านศึก ดังนั้น                          วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ของทุกปี  จึงถือว่าเป็นวันสถาปนา
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  และเป็น  “วันทหารผ่านศึก”  ในปี  พ.ศ. ๒๕๑๐ สภาทหารผ่านศึก  สภากลาโหม  และรัฐบาล  ได้พิจารณาปรับปรุง  พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  โดยได้ขยายการสงเคราะห์ครอบคลุมไปถึงทหาร  ตำรวจ  ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง  หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร  ทั้งในและนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด  รวมทั้งทหารนอกประจำการด้วย  และให้โอนกิจการของมูลนิธิช่วยเหลือทหารและครอบครัว ที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ  ณ ประเทศเกาหลี  มาอยู่ในองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกด้วย  พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่  ๒๘ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๑๐                                    เรียกว่า  “พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  พ.ศ. ๒๕๑๐”              ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 
วัตถุประสงค์ 

พื่อให้การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  ครอบครัวทหารผ่านศึก  ทหารนอกประจำการ  และผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ  ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนกว่าห้าแสนเก้าหมื่นคน การบริหารสภาทหารผ่านศึก มีอำนาจหน้าที่ในการวาง
นโยบาย  และควบคุมกิจการทั่วไปขององค์การ-สงเคราะห์ทหารผ่านศึก        สภาทหารผ่านศึก  ประกอบด้วย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  เป็นนายกสภาทหารผ่านศึก ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นอุปนายก
รองผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง  และยังมีกรรมการซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้ง ด้วยความเห็นชอบของสภากลาโหม  ประกอบด้วยทหารผ่านศึกประจำการ  ๗  คน
ทหารผ่านศึกนอกประจำการ ๙ คน  และเลขานุการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  เป็นเลขาธิการของสภาทหารผ่านศึกโดยตำแหน่ง

ผู้อำนวยการฯ เป็นผู้บริหารกิจการขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับ  และนโยบายที่สภาทหารผ่านศึกกำหนด และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงาน  ตลอดจน  ลูกจ้างทุกตำแหน่ง  รวมทั้งรับผิดชอบใน
การจัดการและการดำเนินงานขององค์การฯ  ซึ่งมีทั้งในส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค  โดยในส่วนกลางนั้นมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร  ส่วนภูมิภาคมีสำนักงานสาขา ๒๓ แห่ง  อีกทั้งยังมีหน่วยงานกิจการพิเศษที่อยู่
ในความดูแลอีก ๖ หน่วย  คือ  สำนักงานกิจการศาลหลักเมือง  สำนักงานกิจการการเกษตรการอุตสาหกรรมและการบริการ  สำนักงานกิจการโรงพิมพ์  สำนักงานรักษาความปลอดภัย  สำนักงานจัดจำหน่ายสลากกินแบ่งและบุหรี่
และสำนักงานกิจการโรงงานในอารักษ์ 

การดำเนินงาน
 

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  ได้ดำเนินงานให้การสงเคราะห์ในประเภทต่างๆ  ดังนี้

๑. การสงเคราะห์ด้านการเกษตร
๒. การสงเคราะห์ด้านการอาชีพ
๓. การสงเคราะห์ด้านการสวัสดิการและการศึกษา
๔. การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล
๕. การสงเคราะห์ด้านการให้สินเชื่อ
๖. การสงเคราะห์ด้านการส่งเสริมสิทธิและเกียรติ

๑. การสงเคราะห์ด้านการเกษตร ให้เข้าประกอบอาชีพในนิคมเกษตรกร  หรือ     นิคมประมงขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ให้คำแนะนำในการเพาะปลูก     เลี้ยงสัตว์  การประมงและการใช้เครื่องมือทุ่นแรง ติดต่อประสานงานกับส่วนราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีที่ดินหรือแหล่งน้ำทำกิน ตลอดจนให้ได้รับความสะดวกในการประกอบอาชีพนั้นๆ  รวมทั้งการฝากเข้าทำกินในนิคมเกษตร  นิคมสวนป่า  หรือนิคมสหกรณ์ของส่วนราชการอื่นๆ
ตลอดจนของเอกชน  และยังเป็นประโยชน์ในด้านการรักษาความมั่นคงอีกด้วย
๒. การสงเคราะห์ด้านอาชีพ  โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่ทหารผ่านศึก  ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ  แนะนำและส่งเสริมการประกอบอาชีพฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น สาขาต่างๆ  ทั้งในส่วนกลางและส่วน
ภูมิภาคทั่วประเทศ จัดตั้งโรงงานในอารักษ์  เพื่อรับผู้ที่สำเร็จการอบรมจากศูนย์ฝึกอาชีพขององค์การฯ  ให้เข้าทำงานที่โรงงานในอารักษ์  จัดหางานให้ทำทั้งในและนอกประเทศ  และค้ำประกันการเข้าทำงาน

๓. การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการและการศึกษา  เป็นการสงเคราะห์ด้านสวัสดิการทั่วไป  ได้แก่  การออกบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก  ให้ความช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติ  ช่วยเหลือเงินเลี้ยงชีพรายเดือนแก่ทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่  ช่วยเหลือค่าฌาปนกิจศพกรณีถึงแก่ความตาย ให้คำแนะนำปรึกษาด้านกฎหมาย จ่ายเงินช่วยเหลือครั้งคราว จ่ายเงินเยี่ยมเยียนช่วยเหลือทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บ  หรือเจ็บป่วย จากการปฏิบัติหน้าที่ให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษาจนจบระดับปริญญาตรีทั้งในและนอกประเทศ  รวมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่บุตรทหารผ่านศึก  และการสงเคราะห์ด้านที่พักอาศัย

๔. การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล ได้จัดตั้งโรงพยาบาลทหารผ่านศึกในส่วนกลาง  โดยมีที่ตั้งอยู่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต  เพื่อให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไปแก่ทหารผ่านศึก  ครอบครัวทหารผ่านศึก  ทหารนอกประจำการ และ       บุคคลทั่วไป  จัดส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปให้บริการในส่วนภูมิภาคบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจแก่ทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพจัดทำอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ช่วยสภาพความพิการ  รวมทั้งรับทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพจากโรงพยาบาลของเหล่าทัพมาให้การดูแลรักษาต่อไปจนถึงที่สุด        

. การสงเคราะห์ด้านการให้สินเชื่อ จัดตั้งกองทุนสงเคราะห์ไว้เพื่อให้สินเชื่อ  หรือให้ กู้ยืมเงินแก่ทหารผ่านศึกครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ ทั้งรายบุคคลและกลุ่มเกษตรกรทหารผ่านศึก  โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำเพื่อให้นำไปลงทุนในการประกอบอาชีพและอื่น ๆ ได้แก่  สินเชื่อ เพื่อการเกษตรระยะสั้น  สินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพ  สินเชื่อเพื่อการสวัสดิการ  สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน

๖. การสงเคราะห์ด้านการส่งเสริมสิทธิและเกียรติ  ประสานในการขอสิทธิพิเศษในกิจการ ต่าง ๆ  ของรัฐและเอกชนเช่น  การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมบางประเภทให้แก่ทหารผ่านศึกผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ ทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพจากการรบ  และครอบครัวทหารผ่านศึกผู้ถือบัตรชั้นที่ ๑ การขอลด ค่าโดยสารรถไฟ  รถประจำทาง(บางสาย)  และเครื่องบิน  การประกอบอาชีพของทหารผ่านศึก โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้บรรจุทหารผ่านศึกเข้าปฏิบัติงาน  การจัดบำเพ็ญกุศลทางศาสนา  ในวาระอันเป็น  ที่ระลึกของทหารผ่านศึก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น