| |||
หมวด ๔
บทกำหนดโทษ
มาตรา ๓๓ ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ
จาก อผศ. ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ ไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ นิติบุคคลใดที่มิใช่กระทรวง ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ จาก อผศ. ใช้คำว่า "อผศ." "ทหารผ่านศึก" "ผ่านศึก" หรือคำว่า "ทหาร" เป็นชื่อหรือ ประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น ให้ถือว่าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น กระทำการ ดังกล่าวในวรรคหนึ่ง มาตรา ๓๔ ผู้ใดใช้ตราเครื่องหมายของ อผศ. โดยไม่มีสิทธิใช้ ทำตรา เครื่องหมาย อผศ. โดยไม่ได้รับอำนาจจาก อผศ. ทำปลอมหรือเลียนแบบคล้ายคลึงตรา หรือรอยตราเครื่องหมายของ อผศ. หรือใช้สิ่งที่ทำปลอมหรือเลียนแบบคล้ายคลึงตรา เครื่องหมายเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา ๓๕ ผู้ใดใช้เหรียญหรือเข็มอันเป็นเครื่องประดับของ อผศ. โดยไม่มี สิทธิใช้ตามมาตรา ๓๒ หรือทำเหรียญหรือเข็มเช่นนั้นขึ้นโดยไม่ได้รับอำนาจจาก อผศ. หรือทำหรือใช้สิ่งเทียมหรือเลียนแบบหรือคล้ายคลึงเหรียญหรือเข็มเช่นนั้น ต้องระวาง โทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ |
วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558
หมวด ๓
ตราเครื่องหมาย เหรียญและเข็ม
ตราเครื่องหมาย เหรียญและเข็ม
มาตรา ๓๑ ตราเครื่องหมายของ อผศ. มีรูปลักษณะดังรูปตราเครื่องหมาย
ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๒ อผศ. อาจจัดทำเหรียญและเข็มองค์การ เพื่อเป็นเครื่องหมาย
ประดับสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีอุปการคุณในกิจการของ อผศ. ชนิด ชั้น ของ
เหรียญและเข็ม และรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิประดับ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภา-
ทหารผ่านศึก
ท้ายพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๓๒ อผศ. อาจจัดทำเหรียญและเข็มองค์การ เพื่อเป็นเครื่องหมาย
ประดับสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีอุปการคุณในกิจการของ อผศ. ชนิด ชั้น ของ
เหรียญและเข็ม และรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิประดับ ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภา-
ทหารผ่านศึก
ตราเครื่องหมาย อผศ. ตราเครื่องหมาย อผศ. เป็นรูปฉัตรห้าชั้น อยู่เหนือช่อชัยพฤกษ์ไขว้ เหนือฉัตรมีคำว่า "องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" และใต้ช่อชัยพฤกษ์ มีคำว่า "ในพระบรมราชูปถัมภ์" ทั้งหมดนี้อยู่ภายใน วงกลม ตราเครื่องหมาย อผศ. ที่จะใช้ในกรณีติดต่อ กับต่างประเทศ มีพื้นสีธงชาติไทยอยู่ภายในวงกลมด้วย |
ความหมายของตราเครื่องหมาย อผศ.
ฉัตรห้าชั้น หมายถึงนักรบของพระมหากษัตริย์
ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึงเกียรติแห่งความมีชัย
อผศ. ใช้สีเขียว เป็นสัญญลักษณ์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความสดชื่นและ
ความร่มเย็นอันได้แก่การบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ทหารผ่านศึกอันเป็นงานในหน้าที่
ของ อผศ.
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก
ทางราชการทหารมีความประสงค์ ที่จะขยายการสงเคราะห์ให้รวมไปถึงทหารนอก-
ประจำการ ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ป้องกันหรือ
ปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร
กับทั้งสมควรรวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติ
ทำการรรบ ณ ประเทศเกาหลี ให้เข้าอยู่ในองค์การนี้ด้วย จึงสมควรพิจารณาปรับปรุง
แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้เหมาะสมกับกาลสมัยและ
สถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน
(๘๔ ร.จ.๑๐ ตอนที่ ๑๒๖ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๐)
ฉัตรห้าชั้น หมายถึงนักรบของพระมหากษัตริย์
ช่อชัยพฤกษ์ หมายถึงเกียรติแห่งความมีชัย
อผศ. ใช้สีเขียว เป็นสัญญลักษณ์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความสดชื่นและ
ความร่มเย็นอันได้แก่การบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ทหารผ่านศึกอันเป็นงานในหน้าที่
ของ อผศ.
หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก
ทางราชการทหารมีความประสงค์ ที่จะขยายการสงเคราะห์ให้รวมไปถึงทหารนอก-
ประจำการ ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ป้องกันหรือ
ปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร
กับทั้งสมควรรวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติ
ทำการรรบ ณ ประเทศเกาหลี ให้เข้าอยู่ในองค์การนี้ด้วย จึงสมควรพิจารณาปรับปรุง
แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้เหมาะสมกับกาลสมัยและ
สถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน
(๘๔ ร.จ.๑๐ ตอนที่ ๑๒๖ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๐)
หมวด ๒
การควบคุมและการบริหาร
ส่วนที่ ๑
การควบคุม
การควบคุมและการบริหาร
ส่วนที่ ๑
การควบคุม
มาตรา ๑๔ ให้มีสภาทหารผ่านศึก ประกอบด้วยรัฐมนตรีเป็นนายก
ผู้อำนวยการเป็นอุปนายก รองผู้อำนวยการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการ
ซึ่งเป็นรัฐมนตรีแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสภากลาโหม คือจากทหารผ่านศึก
ประจำการเจ็ดคน และทหารผ่านศึกนอกประจำการเก้าคน
ให้เลขานุการ อผศ. เป็นเลขาธิการสภาทหารผ่านศึกโดยตำแหน่ง
มาตรา ๑๕ กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งสองปี
ในวาระเริ่มแรก เมื่อครบกำหนดหนึ่งปี ให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งประเภท
ทหารผ่านศึกประจำการพ้นจากตำแหน่งสามคน และประเภททหารผ่านศึก
นอกประจำการพ้นจากตำแหน่งสี่คน ทั้งนี้โดยวิธีจับสลากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
ให้ถือว่าเป็นการออกตามวาระ
ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงวาระ ให้แต่งตั้งบุคคล
ในประเภทเดียวกันเป็นกรรมการแทนเท่าวาระของกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง
มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระคงมีอำนาจและ
หน้าที่ดำเนินการในตำแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ไม่เกินหนึ่งครั้ง
ติดต่อกัน
มาตรา ๑๗ กรรมการย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ โดย
(๑) ลาออก
(๒) รัฐมนตรีให้ออกโดยความเห็นชอบของสภากลาโหม
(๓) กรรมการ ประเภททหารผ่านศึกประจำการหรือกรรมการประเภท
ทหารผ่านศึกนอกประจำการพ้นจากการเป็นทหารผ่านศึกประเภทดังกล่าว
มาตรา ๑๘ ให้สภาทหารผ่านศึกมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุม
กิจการทั่วไปของ อผศ. และให้มีอำนาจ
(๑) กำหนดข้อบังคับตามมาตรา ๑๑
(๒) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานและดำเนินกิจการ
(๓) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สิน และการบัญชี รวมทั้ง
การสอบบัญชีและการตรวจ
(๔) กำหนดข้อบังคับว่าด้วยบำเหน็จและเงินสะสมของพนักงาน
(๕) กำหนดข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ เงินสมทบกองทุนสงเคราะห์
หรือการสงเคราะห์อื่น ๆ เพื่อสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว ซึ่งเมื่อได้รับ
ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้ใช้บังคับได้
(๖) พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณรายจ่าย
(๗) ตั้งอนุกรรมการ เพื่อกระทำการใด ๆ ตามที่มอบหมาย
ข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้
บังคับได้
มาตรา ๑๙ ให้มีการประชุมสามัญสภาทหารผ่านศึกอย่างน้อยทุกระยะเวลา
สามเดือน
ให้มีการเรียกประชุมวิสามัญสภาทหารผ่านศึกเมื่อนายกสภาทหารผ่านศึก
เห็นสมควร หรือเมื่อกรรมการตั้งแต่สามคนขึ้นไปร้องขอ
สภาทหารผ่านศึกจะเชิญบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย คำแนะนำ
หรือความเห็นก็ให้กระทำได้
มาตรา ๒๐ การประชุมทุกคราวต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าเก้าคน
โดยมีกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งไม่น้อยกว่าประเภทละสามคนมาประชุม จึงเป็น
องค์ประชุม
มาตรา ๒๑ ให้นายกสภาทหารผ่านศึกเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกสภา
ทหารผ่านศึกไม่มาประชุม ให้อุปนายกสภาทหารผ่านศึกเป็นประธาน ถ้าอุปนายก
สภาทหารผ่านศึกก็ไม่มาประชุมให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน
ในที่ประชุม
มาตรา ๒๒ มติของที่ประชุมให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียง
เท่ากัน ประธานที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๓ มติของสภาทหารผ่านศึกในกรณีที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีนั้น
ให้รัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
ผู้อำนวยการเป็นอุปนายก รองผู้อำนวยการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการ
ซึ่งเป็นรัฐมนตรีแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสภากลาโหม คือจากทหารผ่านศึก
ประจำการเจ็ดคน และทหารผ่านศึกนอกประจำการเก้าคน
ให้เลขานุการ อผศ. เป็นเลขาธิการสภาทหารผ่านศึกโดยตำแหน่ง
มาตรา ๑๕ กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งสองปี
ในวาระเริ่มแรก เมื่อครบกำหนดหนึ่งปี ให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งประเภท
ทหารผ่านศึกประจำการพ้นจากตำแหน่งสามคน และประเภททหารผ่านศึก
นอกประจำการพ้นจากตำแหน่งสี่คน ทั้งนี้โดยวิธีจับสลากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
ให้ถือว่าเป็นการออกตามวาระ
ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงวาระ ให้แต่งตั้งบุคคล
ในประเภทเดียวกันเป็นกรรมการแทนเท่าวาระของกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง
มาตรา ๑๖ ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระคงมีอำนาจและ
หน้าที่ดำเนินการในตำแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ไม่เกินหนึ่งครั้ง
ติดต่อกัน
มาตรา ๑๗ กรรมการย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ โดย
(๑) ลาออก
(๒) รัฐมนตรีให้ออกโดยความเห็นชอบของสภากลาโหม
(๓) กรรมการ ประเภททหารผ่านศึกประจำการหรือกรรมการประเภท
ทหารผ่านศึกนอกประจำการพ้นจากการเป็นทหารผ่านศึกประเภทดังกล่าว
มาตรา ๑๘ ให้สภาทหารผ่านศึกมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุม
กิจการทั่วไปของ อผศ. และให้มีอำนาจ
(๑) กำหนดข้อบังคับตามมาตรา ๑๑
(๒) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานและดำเนินกิจการ
(๓) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สิน และการบัญชี รวมทั้ง
การสอบบัญชีและการตรวจ
(๔) กำหนดข้อบังคับว่าด้วยบำเหน็จและเงินสะสมของพนักงาน
(๕) กำหนดข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ เงินสมทบกองทุนสงเคราะห์
หรือการสงเคราะห์อื่น ๆ เพื่อสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว ซึ่งเมื่อได้รับ
ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้ใช้บังคับได้
(๖) พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณรายจ่าย
(๗) ตั้งอนุกรรมการ เพื่อกระทำการใด ๆ ตามที่มอบหมาย
ข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้
บังคับได้
มาตรา ๑๙ ให้มีการประชุมสามัญสภาทหารผ่านศึกอย่างน้อยทุกระยะเวลา
สามเดือน
ให้มีการเรียกประชุมวิสามัญสภาทหารผ่านศึกเมื่อนายกสภาทหารผ่านศึก
เห็นสมควร หรือเมื่อกรรมการตั้งแต่สามคนขึ้นไปร้องขอ
สภาทหารผ่านศึกจะเชิญบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย คำแนะนำ
หรือความเห็นก็ให้กระทำได้
มาตรา ๒๐ การประชุมทุกคราวต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าเก้าคน
โดยมีกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งไม่น้อยกว่าประเภทละสามคนมาประชุม จึงเป็น
องค์ประชุม
มาตรา ๒๑ ให้นายกสภาทหารผ่านศึกเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกสภา
ทหารผ่านศึกไม่มาประชุม ให้อุปนายกสภาทหารผ่านศึกเป็นประธาน ถ้าอุปนายก
สภาทหารผ่านศึกก็ไม่มาประชุมให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน
ในที่ประชุม
มาตรา ๒๒ มติของที่ประชุมให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียง
เท่ากัน ประธานที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
มาตรา ๒๓ มติของสภาทหารผ่านศึกในกรณีที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีนั้น
ให้รัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ
| |||
พระราชบัญญัติ
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐ ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ เป็นปีที่ ๒๒ ในรัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยองค์การสงเคราะห์ทหาร- ผ่านศึก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ ยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์- ทหารผ่านศึก พ.ศ.๒๕๑๐" มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป มาตรา ๓ ให้ยกเลิก (๑) พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๔๙๑ (๒) พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๕ (๓) พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๙ บรรดาบทกฎหมาย กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วใน พระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้พระราชบัญญัติ นี้แทน มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้ "ทหารผ่านศึก" หมายความว่า (๑) ทหารหรือบุคคล ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในราชการสงคราม หรือบุคคลซึ่ง ทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดและได้กระทำหน้าที่นั้นในการสงคราม หรือในการรบไม่ว่าภายใน หรือภายนอกราชอาณาจักร หรือในการปราบปรามการ จลาจล (๒) ทหารหรือบุคคล ซึ่งทำการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็น ภัยต่อความมั่นคง หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรไม่ว่าภายในหรือภายนอก ราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหม หรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด "ทหารผ่านศึกประจำการ" หมายความว่า ทหารผ่านศึกที่กำลังรับราชการ ทหารหรือราชการประจำในกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ผู้ที่เป็นข้าราชการการเมือง ข้าราชการวิสามัญ หรือลูกจ้าง "ทหารผ่านศึกนอกประจำการ" หมายความว่า ทหารผ่านศึกผู้ที่ไม่ใช่ทหาร ผ่านศึกประจำการ "ครอบครัวทหารผ่านศึก" หมายความว่า บิดามารดา สามี ภริยา และบุตร ของผ่านศึก "ทหารนอกประจำการ" หมายความว่า ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ หรือ ผู้ที่พ้นราชการประเภทที่ ๑ รวมทั้งนายทหารสัญญาบัตรและนายทหารประทวน นอกประจำการ ซึ่งมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ หรือบำนาญ ตามกฎหมายว่าด้วย บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นทหารผ่านศึกหรือไม่ "กรรมการ" หมายความว่า กรรมการสภาทหารผ่านศึก "ผู้อำนวยการ" หมายความว่า ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก "รองผู้อำนวยการ" หมายความว่า รองผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ - ทหารผ่านศึก "พนักงาน" หมายความว่า บุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สังกัดอยู่ในองค์การ - สงเคราะห์ทหารผ่านศึก รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนของ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มาตรา ๕ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ |
|
|
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมทำการรบ ในสงครามมหาเอเซียบูรพา เมื่อสิ้นสุดสงครามทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรบ ถูกปลดประจำการโดยกระทันหัน ส่งผลให้ตัวทหารและครอบครัวได้รับความเดือดร้อน ในการครองชีพเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรง นาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ กระทรวงกลาโหมจึงได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาหาทางช่วยเหลือทหารกองหนุนขึ้น เมื่อวัน ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖โดยมีที่ทำการอยู่ในกรมเสนาธิการทหาร(ปัจจุบันคือกองบัญชาการทหารสูงสุด) และใช้เจ้าหน้าที่ของกรมเสนาธิการเป็นผู้ปฏิบัติงานสำหรับงบประมาณในการสงเคราะห์ ได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมจำนวนหนึ่ง
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)