วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558

พระราชบัญญัติ

หมวด ๔
บทกำหนดโทษ

   มาตรา ๓๓  ผู้ใดมิใช่ในกิจการของ อผศ. หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ
 จาก อผศ. ใช้ชื่อหรือถ้อยคำในประการที่น่าจะทำให้ประชาชนเข้าใจว่าเป็นกิจการของ
 อผศ. หรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของ อผศ. ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับ
 ไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
              นิติบุคคลใดที่มิใช่กระทรวง ทบวง กรม หรือโดยมิได้รับอนุญาตเป็นหนังสือ
 จาก อผศ. ใช้คำว่า "อผศ." "ทหารผ่านศึก" "ผ่านศึก" หรือคำว่า "ทหาร" เป็นชื่อหรือ
 ประกอบชื่อของนิติบุคคลนั้น ให้ถือว่าผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น กระทำการ
 ดังกล่าวในวรรคหนึ่ง
              มาตรา  ๓๔  ผู้ใดใช้ตราเครื่องหมายของ อผศ. โดยไม่มีสิทธิใช้ ทำตรา
 เครื่องหมาย อผศ. โดยไม่ได้รับอำนาจจาก อผศ. ทำปลอมหรือเลียนแบบคล้ายคลึงตรา
 หรือรอยตราเครื่องหมายของ อผศ. หรือใช้สิ่งที่ทำปลอมหรือเลียนแบบคล้ายคลึงตรา
 เครื่องหมายเช่นนั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท
 หรือทั้งจำทั้งปรับ
              มาตรา ๓๕  ผู้ใดใช้เหรียญหรือเข็มอันเป็นเครื่องประดับของ อผศ. โดยไม่มี
 สิทธิใช้ตามมาตรา ๓๒ หรือทำเหรียญหรือเข็มเช่นนั้นขึ้นโดยไม่ได้รับอำนาจจาก อผศ.
 หรือทำหรือใช้สิ่งเทียมหรือเลียนแบบหรือคล้ายคลึงเหรียญหรือเข็มเช่นนั้น ต้องระวาง
 โทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมวด ๓
ตราเครื่องหมาย เหรียญและเข็ม

มาตรา ๓๑  ตราเครื่องหมายของ อผศ. มีรูปลักษณะดังรูปตราเครื่องหมาย
 ท้ายพระราชบัญญัตินี้
              มาตรา ๓๒  อผศ. อาจจัดทำเหรียญและเข็มองค์การ เพื่อเป็นเครื่องหมาย
 ประดับสำหรับบุคคลที่เกี่ยวข้องหรือมีอุปการคุณในกิจการของ อผศ. ชนิด  ชั้น ของ
 เหรียญและเข็ม และรายละเอียดแห่งการใช้สิทธิประดับ  ให้เป็นไปตามข้อบังคับสภา-
 ทหารผ่านศึก
ตราเครื่องหมายองค์การสงเคราห์ทหารผ่านศึก
ท้ายร่างพระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๕๑๐
 ตราเครื่องหมาย  อผศ.
              ตราเครื่องหมาย อผศ.  เป็น
รูปฉัตรห้าชั้น
  อยู่เหนือช่อชัยพฤกษ์ไขว้   เหนือฉัตรมีคำว่า
  "องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก" และใต้ช่อชัยพฤกษ์
  มีคำว่า    "ในพระบรมราชูปถัมภ์" ทั้งหมดนี้อยู่ภายใน
  วงกลม
            ตราเครื่องหมาย อผศ. ที่จะใช้ในกรณีติดต่อ
  กับต่างประเทศ มีพื้นสีธงชาติไทยอยู่ภายในวงกลมด้วย
  ความหมายของตราเครื่องหมาย อผศ.
                       ฉัตรห้าชั้น          หมายถึงนักรบของพระมหากษัตริย์
                       ช่อชัยพฤกษ์        หมายถึงเกียรติแห่งความมีชัย
              อผศ. ใช้สีเขียว เป็นสัญญลักษณ์ซึ่งเป็นเครื่องหมายของความสดชื่นและ
 ความร่มเย็นอันได้แก่การบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ทหารผ่านศึกอันเป็นงานในหน้าที่
 ของ อผศ.
              หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจาก
 ทางราชการทหารมีความประสงค์ ที่จะขยายการสงเคราะห์ให้รวมไปถึงทหารนอก-
 ประจำการ ตำรวจ ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน ซึ่งได้กระทำหน้าที่ป้องกันหรือ
 ปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร
 กับทั้งสมควรรวมมูลนิธิช่วยทหารและครอบครัวทหารที่ไปช่วยสหประชาชาติ
 ทำการรรบ ณ ประเทศเกาหลี ให้เข้าอยู่ในองค์การนี้ด้วย จึงสมควรพิจารณาปรับปรุง
 แก้ไขกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้เหมาะสมกับกาลสมัยและ
 สถานการณ์ของบ้านเมืองในปัจจุบัน
                        (๘๔ ร.จ.๑๐ ตอนที่ ๑๒๖ ลงวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๑๐)
หมวด ๒
การ
ควบคุมและการบริหาร
ส่วนที่ ๑
การควบคุม
 มาตรา ๑๔  ให้มีสภาทหารผ่านศึก  ประกอบด้วยรัฐมนตรีเป็นนายก
 ผู้อำนวยการเป็นอุปนายก รองผู้อำนวยการเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และกรรมการ
 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีแต่งตั้งด้วยความเห็นชอบของสภากลาโหม คือจากทหารผ่านศึก
 ประจำการเจ็ดคน และทหารผ่านศึกนอกประจำการเก้าคน
             ให้เลขานุการ อผศ. เป็นเลขาธิการสภาทหารผ่านศึกโดยตำแหน่ง
             มาตรา ๑๕ กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งสองปี
             ในวาระเริ่มแรก เมื่อครบกำหนดหนึ่งปี ให้กรรมการที่ได้รับแต่งตั้งประเภท
 ทหารผ่านศึกประจำการพ้นจากตำแหน่งสามคน   และประเภททหารผ่านศึก
 นอกประจำการพ้นจากตำแหน่งสี่คน ทั้งนี้โดยวิธีจับสลากการพ้นจากตำแหน่งดังกล่าว
 ให้ถือว่าเป็นการออกตามวาระ
              ถ้าตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่น นอกจากถึงวาระ ให้แต่งตั้งบุคคล
 ในประเภทเดียวกันเป็นกรรมการแทนเท่าวาระของกรรมการที่พ้นจากตำแหน่ง
              มาตรา ๑๖  ให้คณะกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระคงมีอำนาจและ
 หน้าที่ดำเนินการในตำแหน่งต่อไปจนกว่ากรรมการที่ได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่
              กรรมการที่พ้นจากตำแหน่งตามวาระ อาจได้รับแต่งตั้งอีกได้ไม่เกินหนึ่งครั้ง
 ติดต่อกัน
              มาตรา ๑๗ กรรมการย่อมพ้นจากตำแหน่งก่อนถึงวาระ โดย
              (๑) ลาออก
              (๒) รัฐมนตรีให้ออกโดยความเห็นชอบของสภากลาโหม
              (๓) กรรมการ ประเภททหารผ่านศึกประจำการหรือกรรมการประเภท
 ทหารผ่านศึกนอกประจำการพ้นจากการเป็นทหารผ่านศึกประเภทดังกล่าว
              มาตรา ๑๘ ให้สภาทหารผ่านศึกมีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุม
 กิจการทั่วไปของ อผศ. และให้มีอำนาจ
              (๑) กำหนดข้อบังคับตามมาตรา ๑๑
              (๒) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารงานและดำเนินกิจการ
              (๓) กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการเงิน ทรัพย์สิน และการบัญชี รวมทั้ง
 การสอบบัญชีและการตรวจ
              (๔) กำหนดข้อบังคับว่าด้วยบำเหน็จและเงินสะสมของพนักงาน
              (๕) กำหนดข้อบังคับว่าด้วยกองทุนสงเคราะห์ เงินสมทบกองทุนสงเคราะห์
 หรือการสงเคราะห์อื่น ๆ เพื่อสวัสดิการของผู้ปฏิบัติงานและครอบครัว ซึ่งเมื่อได้รับ
 ความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วให้ใช้บังคับได้
              (๖) พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณรายจ่าย
              (๗) ตั้งอนุกรรมการ เพื่อกระทำการใด ๆ ตามที่มอบหมาย
              ข้อบังคับสภาทหารผ่านศึกนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้
 บังคับได้
              มาตรา ๑๙ ให้มีการประชุมสามัญสภาทหารผ่านศึกอย่างน้อยทุกระยะเวลา
 สามเดือน
              ให้มีการเรียกประชุมวิสามัญสภาทหารผ่านศึกเมื่อนายกสภาทหารผ่านศึก
 เห็นสมควร หรือเมื่อกรรมการตั้งแต่สามคนขึ้นไปร้องขอ
              สภาทหารผ่านศึกจะเชิญบุคคลใดมาให้ข้อเท็จจริง คำอธิบาย คำแนะนำ
 หรือความเห็นก็ให้กระทำได้
              มาตรา ๒๐ การประชุมทุกคราวต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าเก้าคน
 โดยมีกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งไม่น้อยกว่าประเภทละสามคนมาประชุม จึงเป็น
 องค์ประชุม
              มาตรา ๒๑ ให้นายกสภาทหารผ่านศึกเป็นประธานในที่ประชุม ถ้านายกสภา
 ทหารผ่านศึกไม่มาประชุม ให้อุปนายกสภาทหารผ่านศึกเป็นประธาน ถ้าอุปนายก
 สภาทหารผ่านศึกก็ไม่มาประชุมให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธาน
 ในที่ประชุม
              มาตรา ๒๒ มติของที่ประชุมให้ถือคะแนนเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียง
 เท่ากัน ประธานที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
              มาตรา ๒๓ มติของสภาทหารผ่านศึกในกรณีที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีนั้น
 ให้รัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ

พระราชบัญญัติ

 พระราชบัญญัต
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
พ.ศ. ๒๕๑๐
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐
เป็นปีที่ ๒๒ ในรัชกาลปัจจุบัน
   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  มีพระบรมราชโองการ
 โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
              โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยองค์การสงเคราะห์ทหาร-
 ผ่านศึก
              จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและ
 ยินยอมของสภาร่างรัฐธรรมนูญในฐานะรัฐสภา  ดังต่อไปนี้
              มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  "พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์-
 ทหารผ่านศึก พ.ศ.๒๕๑๐"
              มาตรา ๒  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศใน
 ราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
              มาตรา ๓  ให้ยกเลิก
              (๑) พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก พ.ศ. ๒๔๙๑
              (๒) พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๕
              (๓) พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๙๙
              บรรดาบทกฎหมาย  กฎและข้อบังคับอื่นในส่วนที่มีบัญญัติไว้แล้วใน
 พระราชบัญญัตินี้หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้  ให้ใช้พระราชบัญญัติ
 นี้แทน
              มาตรา ๔  ในพระราชบัญญัตินี้
              "ทหารผ่านศึก"  หมายความว่า
              (๑) ทหารหรือบุคคล  ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่ในราชการสงคราม หรือบุคคลซึ่ง
 ทำหน้าที่ทหารตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดและได้กระทำหน้าที่นั้นในการสงคราม
 หรือในการรบไม่ว่าภายใน  หรือภายนอกราชอาณาจักร  หรือในการปราบปรามการ
 จลาจล
              (๒) ทหารหรือบุคคล  ซึ่งทำการป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็น
 ภัยต่อความมั่นคง  หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักรไม่ว่าภายในหรือภายนอก
 ราชอาณาจักรตามที่กระทรวงกลาโหม หรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด
              "ทหารผ่านศึกประจำการ"  หมายความว่า ทหารผ่านศึกที่กำลังรับราชการ
 ทหารหรือราชการประจำในกระทรวง ทบวง กรม เว้นแต่ผู้ที่เป็นข้าราชการการเมือง
 ข้าราชการวิสามัญ หรือลูกจ้าง
              "ทหารผ่านศึกนอกประจำการ" หมายความว่า ทหารผ่านศึกผู้ที่ไม่ใช่ทหาร
 ผ่านศึกประจำการ
              "ครอบครัวทหารผ่านศึก" หมายความว่า บิดามารดา สามี ภริยา และบุตร
 ของผ่านศึก
              "ทหารนอกประจำการ" หมายความว่า ทหารกองหนุนประเภทที่ ๑ หรือ
 ผู้ที่พ้นราชการประเภทที่ ๑ รวมทั้งนายทหารสัญญาบัตรและนายทหารประทวน
 นอกประจำการ ซึ่งมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ หรือบำนาญ ตามกฎหมายว่าด้วย
 บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นทหารผ่านศึกหรือไม่
              "กรรมการ"  หมายความว่า กรรมการสภาทหารผ่านศึก
              "ผู้อำนวยการ"  หมายความว่า ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
              "รองผู้อำนวยการ"  หมายความว่า  รองผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ -
 ทหารผ่านศึก
              "พนักงาน"  หมายความว่า บุคคลซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สังกัดอยู่ในองค์การ -
 สงเคราะห์ทหารผ่านศึก รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณประเภทเงินเดือนของ
 องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก
              "รัฐมนตรี"  หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
              มาตรา ๕  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงก
ลาโหมรักษาการตามพระราช
  บัญญัตินี้


ทำเนียบนายกสภาทหารผ่านศึก

> รายชื่อนายกสภาทหารผ่านศึก
     ๑. พล.ท. หลวงชาตินักรบ
     ๒. จอมพล ป. พิบูลสงคราม
     ๓. จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
     ๔. จอมพล ถนอม กิตติขจร
     ๕. พล.อ. บุลศักดิ์ วรรณมาศ
     ๖. พล.อ.อ. ทวี จุลละทรัพย์
     ๗. พล.อ. ครวญ สุทธานินทร์
     ๘. พล.อ. ทวิช เสนีวงศ์ ณ อยุธยา
     ๙. พล.ต. ประมาณ อดิเรกสาร
     ๑๐. พล.อ. กฤษณ์ สีวะรา
     ๑๑. ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช
     ๑๒. พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่
     ๑๓. พล.อ. เล็ก แนวมาลี
     ๑๔. พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ 
     ๑๕. พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์
     ๑๖. พล.อ.อ. พะเนียง กานตรัตน์
     ๑๗. พล.อ. ชาติชาย ชุณหะวัณ 
     ๑๘. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ
     ๑๙. พล.ร.อ. ประพัฒน์ กฤษณะจันทร์
     ๒๐. พล.อ. สุจินดา คราประยูร
     ๒๑. พล.อ. บรรจบ บุญนาค
     ๒๒. พล.อ. วิจิตร สุขมาก
     ๒๓. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ
     ๒๔. นายชวน หลีกภัย
     ๒๕. พล.อ. ชวลิต ยงใจยุทธ
     ๒๖. พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูล ณ อยุธยา
     ๒๗.พล.อ. เชษฐา ฐานะจาโร
     ๒๘.พล.อ.สัมพันธ์ บุญญานันต์
    
 ๒๙.พล.อ. ธรรมรักษ์ อิศรางกูล ณ อยุธยา
     ๓๐.พล.อ. บุญรอด  สมทัศน์
     ๓๑. นายสมัคร  สุนทรเวช
     ๓๒. นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์
     ๓๓. พล.อ. ประวิตร  วงษ์สุวรรณ
     ๓๔. พล.อ. ยุทธศักดิ์  ศศิประภา
     ๓๕. พล.อ.อ. สุกำพล  สุวรรณทัต
     ๓๖. นางสาวยิ่งลักษณ์  ชินวัตร
     ๓๗. พล.อ.สุรศักดิ์  กาญจนรัตน
     ๓๘. พล.อ.ประวิตร  วงษ์สุวรรณ



> รายชื่อผู้อำนวยการองค์การ ฯ
     ๑. พล.ท. ชมะบูรณ์ ไพรีระย่อเดช
     ๒. พล.อ. พระประจนปัจจนึก
     ๓. พล.ท. เจริญ สุวรรณวิสูตร์
     ๔. พล.ท. บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
     ๕. พล.ท. ประชุม ประสิทธิ์สรจักร์
     ๖. พล.ท. ปุ่น วงศ์วิเศษ
     ๗. พล.ท. คำแหง เทียนศิริ
     ๘. พล.อ.ท. ประสาน ลีลาลัย
     ๙. พล.ท. ลภชัย สุรทิณฑ์
     ๑๐. พล.ท. อัสนี สมุทรเสน
     ๑๑. พล.ท. ประหยัด รอดโพธิ์ทอง
     ๑๒. พล.อ. อัสนี สมุทรเสน
     ๑๓. พล.ท. เฟื่องเฉลย อนิรุทธเทวา
     ๑๔. พล.อ. สพรั่ง นุตสถิตย์
     ๑๕. พล.อ. เชาวน์ คงพูลศิลป์
     ๑๖. พล.อ. เสถียร ศิลปสมศักดิ์
     ๑๗. พล.อ. เอื้อมศักดิ์ จุละจาริตต์
     ๑๘. พล.อ. วันชัย อัมพุนันทน์
     ๑๙. พล.อ. ธีรเดช มีเพียร
     ๒๐. พล.อ. อู้ด เบื้องบน
     ๒๑. พล.อ. เฉลิมพล เจริญยิ่ง
     ๒๒. พล.อ. ทสรฐ เมืองอ่ำ                                                                              
 ๒๓. พล.อ. ชูศิลป์  คุณาไทย
     ๒๔. พล.อ. สุชีพ  กิจวารี
     ๒๕. พล.อ. ชัยวัฒน์  สท้อนดี
     ๒๖. พล.อ. พิณภาษณ์  สริวัฒน์
 
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์
ประวัติโดยสังเขป                                                                                    
                      ในสมัยสงครามโลกครั้งที่  ๒ ประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมทำการรบ                           ในสงครามมหาเอเซียบูรพา  เมื่อสิ้นสุดสงครามทหารที่ปฏิบัติหน้าที่ในการรบ         ถูกปลดประจำการโดยกระทันหัน ส่งผลให้ตัวทหารและครอบครัวได้รับความเดือดร้อน               ในการครองชีพเป็นอย่างยิ่ง รัฐบาลในขณะนั้นซึ่งมี  พลเรือตรี ถวัลย์  ธำรง นาวาสวัสดิ์       เป็นนายกรัฐมนตรีจึงได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือ กระทรวงกลาโหมจึงได้ตั้งคณะกรรมการพิจารณาหาทางช่วยเหลือทหารกองหนุนขึ้น เมื่อวัน  ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖โดยมีที่ทำการอยู่ในกรมเสนาธิการทหาร(ปัจจุบันคือกองบัญชาการทหารสูงสุด) และใช้เจ้าหน้าที่ของกรมเสนาธิการเป็นผู้ปฏิบัติงานสำหรับงบประมาณในการสงเคราะห์  ได้รับเงินอุดหนุนจากกระทรวงกลาโหมจำนวนหนึ่ง

ต่อมาเมื่อมีการขยายการสงเคราะห์เพิ่มมากขึ้นจึงได้มีการพิจารณาว่าการดำเนินงาน ในรูปของคณะกรรมการจะขาดความรัดกุมและเหมาะสม กระทรวงกลาโหมจึงได้เสนอเป็นพระราชบัญญัติ จัดตั้ง องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  หรือ ที่เรียกโดยย่อว่า  “อผศ.”  ขึ้นเป็นหน่วยงานถาวร  เพื่อทำหน้าที่  ในการสงเคราะห์ทหารผ่านศึกโดยตรง  พระราชบัญญัติฉบับนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา           เมื่อวันที่  ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๑ จึงนับเป็นวันแรกที่มีกฎหมายรองรับการจัดตั้งองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก และการเป็นทหารผ่านศึก ดังนั้น                          วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ของทุกปี  จึงถือว่าเป็นวันสถาปนา
องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  และเป็น  “วันทหารผ่านศึก”  ในปี  พ.ศ. ๒๕๑๐ สภาทหารผ่านศึก  สภากลาโหม  และรัฐบาล  ได้พิจารณาปรับปรุง  พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  โดยได้ขยายการสงเคราะห์ครอบคลุมไปถึงทหาร  ตำรวจ  ข้าราชการพลเรือนและพลเรือน  ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ป้องกันหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง  หรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร  ทั้งในและนอกประเทศตามที่กระทรวงกลาโหมหรือสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนด  รวมทั้งทหารนอกประจำการด้วย  และให้โอนกิจการของมูลนิธิช่วยเหลือทหารและครอบครัว ที่ไปช่วยสหประชาชาติทำการรบ  ณ ประเทศเกาหลี  มาอยู่ในองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกด้วย  พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา  เมื่อวันที่  ๒๘ ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๑๐                                    เรียกว่า  “พระราชบัญญัติองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  พ.ศ. ๒๕๑๐”              ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน 
วัตถุประสงค์ 

พื่อให้การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  ครอบครัวทหารผ่านศึก  ทหารนอกประจำการ  และผู้ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่ในการป้องกันประเทศ  ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนกว่าห้าแสนเก้าหมื่นคน การบริหารสภาทหารผ่านศึก มีอำนาจหน้าที่ในการวาง
นโยบาย  และควบคุมกิจการทั่วไปขององค์การ-สงเคราะห์ทหารผ่านศึก        สภาทหารผ่านศึก  ประกอบด้วย  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  เป็นนายกสภาทหารผ่านศึก ผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นอุปนายก
รองผู้อำนวยการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง  และยังมีกรรมการซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแต่งตั้ง ด้วยความเห็นชอบของสภากลาโหม  ประกอบด้วยทหารผ่านศึกประจำการ  ๗  คน
ทหารผ่านศึกนอกประจำการ ๙ คน  และเลขานุการองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  เป็นเลขาธิการของสภาทหารผ่านศึกโดยตำแหน่ง

ผู้อำนวยการฯ เป็นผู้บริหารกิจการขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกให้เป็นไปตามกฎหมายข้อบังคับ  และนโยบายที่สภาทหารผ่านศึกกำหนด และมีอำนาจบังคับบัญชาพนักงาน  ตลอดจน  ลูกจ้างทุกตำแหน่ง  รวมทั้งรับผิดชอบใน
การจัดการและการดำเนินงานขององค์การฯ  ซึ่งมีทั้งในส่วนกลางและ ส่วนภูมิภาค  โดยในส่วนกลางนั้นมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร  ส่วนภูมิภาคมีสำนักงานสาขา ๒๓ แห่ง  อีกทั้งยังมีหน่วยงานกิจการพิเศษที่อยู่
ในความดูแลอีก ๖ หน่วย  คือ  สำนักงานกิจการศาลหลักเมือง  สำนักงานกิจการการเกษตรการอุตสาหกรรมและการบริการ  สำนักงานกิจการโรงพิมพ์  สำนักงานรักษาความปลอดภัย  สำนักงานจัดจำหน่ายสลากกินแบ่งและบุหรี่
และสำนักงานกิจการโรงงานในอารักษ์ 

การดำเนินงาน
 

องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก  ได้ดำเนินงานให้การสงเคราะห์ในประเภทต่างๆ  ดังนี้

๑. การสงเคราะห์ด้านการเกษตร
๒. การสงเคราะห์ด้านการอาชีพ
๓. การสงเคราะห์ด้านการสวัสดิการและการศึกษา
๔. การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล
๕. การสงเคราะห์ด้านการให้สินเชื่อ
๖. การสงเคราะห์ด้านการส่งเสริมสิทธิและเกียรติ

๑. การสงเคราะห์ด้านการเกษตร ให้เข้าประกอบอาชีพในนิคมเกษตรกร  หรือ     นิคมประมงขององค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ให้คำแนะนำในการเพาะปลูก     เลี้ยงสัตว์  การประมงและการใช้เครื่องมือทุ่นแรง ติดต่อประสานงานกับส่วนราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีที่ดินหรือแหล่งน้ำทำกิน ตลอดจนให้ได้รับความสะดวกในการประกอบอาชีพนั้นๆ  รวมทั้งการฝากเข้าทำกินในนิคมเกษตร  นิคมสวนป่า  หรือนิคมสหกรณ์ของส่วนราชการอื่นๆ
ตลอดจนของเอกชน  และยังเป็นประโยชน์ในด้านการรักษาความมั่นคงอีกด้วย
๒. การสงเคราะห์ด้านอาชีพ  โดยจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้แก่ทหารผ่านศึก  ครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ  แนะนำและส่งเสริมการประกอบอาชีพฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น สาขาต่างๆ  ทั้งในส่วนกลางและส่วน
ภูมิภาคทั่วประเทศ จัดตั้งโรงงานในอารักษ์  เพื่อรับผู้ที่สำเร็จการอบรมจากศูนย์ฝึกอาชีพขององค์การฯ  ให้เข้าทำงานที่โรงงานในอารักษ์  จัดหางานให้ทำทั้งในและนอกประเทศ  และค้ำประกันการเข้าทำงาน

๓. การสงเคราะห์ด้านสวัสดิการและการศึกษา  เป็นการสงเคราะห์ด้านสวัสดิการทั่วไป  ได้แก่  การออกบัตรประจำตัวทหารผ่านศึก  ให้ความช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติ  ช่วยเหลือเงินเลี้ยงชีพรายเดือนแก่ทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพจากการปฏิบัติหน้าที่  ช่วยเหลือค่าฌาปนกิจศพกรณีถึงแก่ความตาย ให้คำแนะนำปรึกษาด้านกฎหมาย จ่ายเงินช่วยเหลือครั้งคราว จ่ายเงินเยี่ยมเยียนช่วยเหลือทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดเจ็บ  หรือเจ็บป่วย จากการปฏิบัติหน้าที่ให้การสงเคราะห์ด้านการศึกษาจนจบระดับปริญญาตรีทั้งในและนอกประเทศ  รวมทั้งให้ทุนการศึกษาแก่บุตรทหารผ่านศึก  และการสงเคราะห์ด้านที่พักอาศัย

๔. การสงเคราะห์ด้านการรักษาพยาบาล ได้จัดตั้งโรงพยาบาลทหารผ่านศึกในส่วนกลาง  โดยมีที่ตั้งอยู่บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต  เพื่อให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไปแก่ทหารผ่านศึก  ครอบครัวทหารผ่านศึก  ทหารนอกประจำการ และ       บุคคลทั่วไป  จัดส่งหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกไปให้บริการในส่วนภูมิภาคบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจแก่ทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพจัดทำอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ช่วยสภาพความพิการ  รวมทั้งรับทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพจากโรงพยาบาลของเหล่าทัพมาให้การดูแลรักษาต่อไปจนถึงที่สุด        

. การสงเคราะห์ด้านการให้สินเชื่อ จัดตั้งกองทุนสงเคราะห์ไว้เพื่อให้สินเชื่อ  หรือให้ กู้ยืมเงินแก่ทหารผ่านศึกครอบครัวทหารผ่านศึก และทหารนอกประจำการ ทั้งรายบุคคลและกลุ่มเกษตรกรทหารผ่านศึก  โดยคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำเพื่อให้นำไปลงทุนในการประกอบอาชีพและอื่น ๆ ได้แก่  สินเชื่อ เพื่อการเกษตรระยะสั้น  สินเชื่อเพื่อการประกอบอาชีพ  สินเชื่อเพื่อการสวัสดิการ  สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน

๖. การสงเคราะห์ด้านการส่งเสริมสิทธิและเกียรติ  ประสานในการขอสิทธิพิเศษในกิจการ ต่าง ๆ  ของรัฐและเอกชนเช่น  การขอยกเว้นค่าธรรมเนียมบางประเภทให้แก่ทหารผ่านศึกผู้ได้รับพระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ ทหารผ่านศึกพิการทุพพลภาพจากการรบ  และครอบครัวทหารผ่านศึกผู้ถือบัตรชั้นที่ ๑ การขอลด ค่าโดยสารรถไฟ  รถประจำทาง(บางสาย)  และเครื่องบิน  การประกอบอาชีพของทหารผ่านศึก โดยขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้บรรจุทหารผ่านศึกเข้าปฏิบัติงาน  การจัดบำเพ็ญกุศลทางศาสนา  ในวาระอันเป็น  ที่ระลึกของทหารผ่านศึก